การชำระภาษีประจำปีเป็นหน้าที่ของผู้ที่มีรายได้ทุก ๆ คน เพื่อรัฐบาลจะได้นำงบประมาณภาษีมาปรับปรุงประเทศในส่วนต่าง ๆ ซึ่งกรมสรรพากรได้มีกำหนดระยะเวลาในการชำระภาษีของแต่ละปี เพื่อให้ประชาชนได้ดำเนินการชำระภาษีให้ตรงตามกำหนด สำหรับกรณีที่ชำระเกินกำหนดหรือไม่ยื่นชำระภาษีนั้นอาจจะมีความผิดและมีบทลงโทษทางอาญาตามกฏหมาย
บุคคลธรรมที่ต้องเสียภาษี
1. สถานะโสด
- มีเงินได้จากงานประจำเพียงอย่างเดียว (เงินเดือน) รวมแล้วปีละ 120,000 บาท ขึ้นไป
- มีเงินได้ประเภทอื่น เช่น ค่าคอมมิชชั่น รวมแล้วปีละ 60,000 บาท ขึ้นไป
2. สถานะสมรส
- มีเงินได้จากงานประจำเพียงอย่างเดียว (เงินเดือน) รวมแล้วปีละ 220,000 บาท ขึ้นไป
- มีเงินได้ประเภทอื่น เช่น ค่าคอมมิชชั่น รวมแล้วปีละ 120,000 บาท ขึ้นไป
นิติบุคคลที่ต้องเสียภาษี
- ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน คือบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปทำกิจการร่วมกัน โดยตกลงจะแบ่งปันกำไรที่ได้จากการทำกิจกรรมนั้นๆ เช่น ร่วมกัน ซื้อที่ดินเพื่อนำไปปล่อยเช่า เป็นต้น
- คณะบุคคลที่มิใช้นิติบุุคล คือบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปทำกิจการร่วมกัน แต่ไม่ต้องการแบ่งปันกำไรที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่ทำ เช่น ชมรมแม่บ้านจัด กิจกรรมหาทุนเพื่อสร้างโรงพยาบาล เป็นต้น
บทลงโทษตามกฏหมายสำหรับผู้ที่ไม่ชำระภาษีในกรณีต่าง ๆ ปี 2567
- กรณีไม่ยื่นเอกสาร ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนด
กำหนดการยื่นเอกสาร ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 สำหรับรายได้ปี 2566 สามารถยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567 ผ่าน 2 ช่องทาง
- กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วเตรียมเอกสารยื่นภาษีที่เกี่ยวข้อง ไปยังสำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่
- กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วให้หน่วยงานบริษัทที่สังกัดยื่นให้
หรือยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ได้ถึง 8 เมษายน 2567 หากกรณียื่นเอกสารเกินระยะเวลาที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
- กรณีชำระภาษีเกินวันที่ที่กำหนด
หากชำระภาษีเกินวันที่ที่กรมสรรพกรกำหนดไว้ จะต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน นับจากวันที่ครบกำหนดจนถึงวันที่ชำระภาษี
- กรณียื่นเอกสารปลอมแปลง หรือยื่นข้อมูลเท็จเพื่อจงใจหลีกเลี่ยงภาษี
หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและจับได้ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 7 ปี และต้องเสียค่าปรับตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท
- กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี
หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบย้อนหลัง มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
- กรณียื่นภาษีขาดไปจากเอกสารแสดงรายได้
หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าชำระภาษีไม่ตรงกับรายได้ที่ได้มีการแสดงรายได้เอาไว้ อาจจะเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิทของเจ้าหน้าที่
สำหรับรายละเอียดการชำระภาษีสามารถติดตามรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th รวมทั้งขั้นตอนในการยื่นภาษีต่าง ๆ หรือโทรสอบถามเพิ่มเติม Call Center 1161 เพื่อความแน่ใจ ไม่ต้องเสียค่าปรับหรือโดนลงโทษตามกฏหมาย
หากผู้ประกอบการท่านใดต้องการข้อมูลเรื่องภาษีและปรึกษาเรื่องการยื่นภาษี หรือต้องการทนายที่ปรึกษากฏหมายเพื่อดำเนินการทางกฏหมายในเรื่องต่าง ๆ ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm