โรงงานอุตสาหกรรมทุกที่ต้องมีการติดตั้งป้ายและสัญลักษณ์ตามจุดต่าง ๆ ตามที่ข้อกฎหมายระบุ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยภายในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสีและสัญลักษณ์ของป้ายนั้นมีการสื่อสารและความหมายที่แตกต่างกัน
การติดตั้งป้ายเตือนในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นเป็นไปตาม ISO 7070 มาตรฐานสากลเผยแพร่โดย International Organization for Standardization (ISO) เพื่อกำหนดแนวทางสำหรับการออกแบบและการใช้ป้ายความปลอดภัยในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงในโรงงานอุตสาหกรรม ครอบคลุมถึงข้อกำหนดสำหรับการใช้สี รูปร่าง และองค์ประกอบภาพอื่น ๆ บนป้ายความปลอดภัย ซึ่งสามารถแบ่งประเภทตามสีได้ 4 สี ดังนี้
ป้ายสีแดง = หยุด, ห้าม
- เครื่องหมายหยุด
- เครื่องหมายอุปกรณ์หยุดฉุกเฉิน
- เครื่องหมายห้าม
ป้ายห้ามใช้เพื่อระบุว่าการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างเป็นสิ่งต้องห้าม หากละเมิดอาจจะมีบทลงโทษหรือเกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้กระทำ สัญลักษณ์ที่พบบ่อยคือ ‘วงกลมสีแดงที่มีเส้นทแยงมุม’
ป้ายสีน้ำเงิน = บังคับให้ปฏิบัติ
- บังคับให้ต้องสวมเครื่องป้องกันส่วนบุคคล
- เครื่องหมายบังคับ
ป้ายบังคับใช้เพื่อระบุว่าต้องมีการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างเกิดขึ้นในบริเวณนั้น เช่น ต้องใส่ถุงมือ ต้องใส่แว่นตา ฯลฯ สัญลักษณ์ที่พบบ่อยคือ ‘สัญลักษณ์เฉพาะทาง’ เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการจะสื่อ
ป้ายสีเหลือง = ระวังอันตราย
- ชี้บ่งว่ามีอันตราย เช่น ไฟ วัตถุระเบิด กัมมันตภาพรังสี วัตถุมีพิษ ฯลฯ
- ชี้บ่งถึงเขตอันตราย ทางผ่านที่มีอันตราย เครื่องกีดขวาง เครื่องหมายเตือน
ป้ายที่ใช้เตือนคนงานถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น สถานที่อันตราย สภาวะอันตราย หรืออุปกรณ์อันตราย เป็นต้น สัญลักษณ์ที่พบบ่อยคือ ‘สามเหลี่ยมที่มีเครื่องหมายอัศเจรีย์’ หรือ ‘หัวกะโหลกไขว้’
ป้ายสีเขียว = แสดงสภาวะปลอดภัย
- ทางหนี
- ทางออกฉุกเฉิน
- หน่วยปฐมพยาบาล / หน่วยกู้ภัย
ป้ายเพื่อการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ปฐมพยาบาลหรือการเข้าถึงจุดปลอดภัย สัญลักษณ์ที่พบบ่อยมักจะเป็น ‘กากบาทสีขาวบนพื้นสีเขียว’
การติดตั้งป้ายความปลอดภัยที่ดีต้องใช้ภาษาที่ชัดเจนและรัดกุม ในป้ายควรใช้สีและสัญลักษณ์ตัวแทน เพื่อดึงดูดสายตาและเข้าใจง่าย รวมทั้งใช้ตัวอักษรตัวหนาเพื่อเพิ่มความชัดเจนและต้องวางป้ายไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่าย
หากต้องการความรู้หรือปรึกษาเรื่องกฎหมาย Balance Niti Law Firm พร้อมให้คำปรึกษาและดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอน สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm