กฎหมายชวนรู้! พรบ.โรงงานสิ่งแวดล้องเรื่องน้ำ

การดำเนินการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมนั้นนอกจากจะต้องดำเนินเรื่องการขออนุญาตตามตามที่กฎหมายการสร้างโรงงานฯอย่างถูกต้องแล้ว เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จในการดำเนินงานผลิตหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับของพรบ.โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันและไม่ให้เปิดผลเสียกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง

 

พระราชบัญญัติโรงงาน คือ กฎหมายที่ออกโดยรัฐบาลเพื่อควบคุมและกำหนดเกณฑ์การดำเนินงานของโรงงานในประเทศ พระราชบัญญัติเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางอุตสาหกรรม ความเป็นระเบียบ และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโรงงาน

 

การประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติโรงงาน ดังต่อไปนี้:

 

  • การได้รับอนุญาต: โรงงานจำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะเริ่มกิจการ การขออนุญาตอาจมีเงื่อนไขและกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามในการดำเนินงานของโรงงาน

 

  • ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม: พระราชบัญญัติโรงงานจัดหาเกณฑ์และมาตรฐานเพื่อให้การดำเนินงานของโรงงานเป็นไปในทางที่ปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงกำหนดเกณฑ์ในการจัดการสิ่งปลูกสร้าง การจัดเก็บและการกำจัดของเสีย การบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือ เป็นต้น

 

  • ความประพฤติต่อสังคม: พระราชบัญญัติโรงงานมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินกิจการโรงงานที่มีความเป็นระเบียบ อาจเกี่ยวข้องกับแรงงาน สวัสดิการแรงงาน การปฏิบัติต่อสังคมและชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการป้องกันความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและการจัดการกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น

 

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 ได้กำหนดประเภทของแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงงานที่ต้องควบคุมน้ำทิ้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด:

 

  1. โรงงานอุตสาหกรรม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือออกสู่สิ่งแวดล้อม
  2. นิคมอุตสาหกรรม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือออกสู่สิ่งแวดล้อม
  3. ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมหรือนิคมอุตสาหกรรม ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม เว้นแต่น้ำเสียดังกล่าวไม่ว่าผ่านการบำบัด หรือไม่ก็ต้องมีคุณภาพตามมาตรฐาน ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ใน ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2539) เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภท โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม

 

กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิด ประเภทโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม

  • กำหนดให้ภายใน 1 ปี โรงงานอุตสาหกรรมระบายน้ำทิ้งที่มีค่าทีเคเอ็น ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อลิตร
  • กำหนดให้ภายใน 2 ปี บังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมระบายน้ำทิ้งที่มีค่าทีเคเอ็น ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร 
    • โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเครื่องปรุงหรือเครื่องประกอบอาหาร ประเภทการทำเครื่องปรุงกลิ่น รสหรือสีของอาหาร ตามลำดับที่13(2)
    • โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับอาหารสัตว์ประเภทการทำอาหารผสมหรืออาหารสำเร็จรูป สำหรับเลี้ยงสัตว์ ตามลำดับที่ 15(1)
  • โรงงานอุตสาหกรรมดังต่อไปนี้ ให้ระบายน้ำทิ้งที่มีค่าซีโอดี ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อลิตร 
    • โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเครื่องปรุงหรือเครื่องประกอบอาหารประเภทการทำเครื่องปรุง กลิ่น รสหรือสีของอาหาร
    • โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับอาหารสัตว์ ประเภทการทำอาหารผสมหรืออาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงสัตว์
    • โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสิ่งทอ ด้ายหรือเส้นใย ซึ่งมีใช่ใยหิน (Asbestos) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง 
    • โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ป่นหรือบด ฟอก ขัดและแต่ง แต่งสำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์ 
    • โรงงานผลิตเยื่อหรือกระดาษอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง 

 

การวางระบบโรงงานอุตสาหกรรมมีขั้นตอนที่ค่อนข้างเยอะและละเอียด เนื่องจากสามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนได้ในวงกว้าง หากต้องการปรึกษาเรื่องขั้นตอนการขออนุญาตและกฎหมายที่เกี่ยวของกับโรงงานอุตสาหกรรม Balance Niti หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย หรือต้องการคำแนะนำฯ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.diw.go.th/webdiw/law-fac-env/

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *