ยุคดิจิตัลมีทั้งประโยชน์และโทษพอ ๆ กัน ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้าถึงง่ายดาย และมีโปรแกรมต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกมากมาย กลุ่มคนหัวหมอที่นิสัยไม่ดีก็อาจจะหาประโยชน์โดยไม่ชอบได้ง่ายขึ้นเช่นกัน การปลอมแปลงเอกสารในปัจจุบันจึงทำได้ง่ายดายขึ้น โดยมีข่าวการฟ้องร้องให้เห็นผ่านตากันบ่อย ๆ ซึ่งการปลอมแปลงเอกสารนั้นมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
การปลอมแปลงเอกสาร คือ การเติม การตัดทอน การแก้ไขข้อความ การประทับตราปลอม หรือการลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นที่หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารจริง ถือว่ามีความผิดฐานปลอมเอกสาร โดยแบ่งเป็น 2 กรณี
- ผู้ทำเอกสารปลอม
- ผู้ใช้เอกสารปลอม
โดยจะได้รับโทษในการกระทำความผิดฐานปลอมแปลงเหมือนกัน ดังนี้
โทษทางกฎหมายสำหรับการปลอมแปลงเอกสาร
- มีความผิด (ป.อาญา ม.264) จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- เอกสารที่ปลอมขึ้นมา เป็นเอกสารสิทธิ หรือเป็นเอกสารราชการ เช่น หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน , สัญญาซื้อขาย และสัญญาเช่า จะมีความผิด (ป.อาญา ม.265) จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับ ตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท
- เอกสารที่ทำปลอมขึ้นมา เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการมีความผิดตาม (ป.อาญา ม.266)
๑. เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
๒. พินัยกรรม
๓. ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้
๔. ตั๋วเงิน หรือ
๕. บัตรเงินฝาก
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท
- การให้ข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงาน ทำให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ จะถือว่ามีความผิดตาม (ป.อาญา ม.267) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ที่ใช้เอกสารปลอมเองแม้จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามจะได้รับโทษเท่าเทียมกับผู้ปลอมแปลงเอกสาร แม้การลงลายมือชื่อในเอกสารที่เจ้าของลายมือชื่อจะยินยอมให้ลงชื่อแทนก็ตาม ซึ่งถือว่าเป็นการปลอมแปลงเอกสารประเภทหนึ่งเช่นเดียวกัน
หากต้องการความรู้หรือปรึกษาเรื่องกฎหมาย Balance Niti Law Firm พร้อมให้คำปรึกษาและดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอน สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm