กฎหมายชวนรู้! ชวนมารู้จักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยุคดิจิทัล

ปี 2566 นี้ไม่เพียงแต่การใช้ชีวิตที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคดิจิทัลมากขึ้น แม้แต่ตัวบทกฎหมายเองก็ต้องมีการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าชีวิตในปัจจุบันของทุก ๆ คนก็ต้องทำกิจกรรมและธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลเป็นหลัก ไม่ว่าจะผ่านโทรศัพท์มือถือ แอปพลิเคชั่น โปรแกรม คอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ ดังนั้นเราควรศึกษาและรู้จักกับชุดกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นข้อมูลในการใช้ชีวิตประจำวันกันสักนิด

1. กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

Electronic Transactions Act (ETA) หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย 

 

  • ธุรกรรมทางแพ่งและพาณิชย์ เช่น การทำสัญญากู้ยืมเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การปลดหนี้เงินกู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่ใช้กับธุรกรรมเกี่ยวกับครอบครัวและธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก
  • ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ เช่น คำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน คำสั่งทางปกครอง การชำระเงิน การประกาศหรือการดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายกับหน่วยงานของรัฐหรือโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น การยื่นภาษีทางออนไลน์ เป็นต้น

2. กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบและได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้แล้ว

  1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
  5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
  6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด

      7.แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้วจะถือเป็นผู้พ้นผิด

  1. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
  2. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
  3. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
  4. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  5. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
  6. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่มีความผิด หากมิได้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้

3. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยและนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต โดย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งครอบคลุมความคุ้มครองทั้งข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้โดยทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ-นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เบอร์โทรศัพท์มือถือ, อาชีพ, ข้อมูลการศึกษา, ข้อมูลการเงิน, รูปถ่าย เป็นต้น

4. กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือ มาตรการหรือการดําเนินการที่กําหนดขึ้นเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ 

 

อันที่จริงแล้วกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ยังมีข้อมูลปลีกย่อยอีกมากมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลหรืการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น แต่กฎหมายที่บุคคลทั่วไปควรศึกษาข้อมูลเพื่ออาจจะเป้นประโยชน์ในอนาคตควรเป้นกฎหมายธุรกรรมดิจิทัล เพราะมีความเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันมากที่สุด เช่น การโอนเงินผ่านแอปฯ การแสกนจ่ายสินค้า การซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น หวังว่าจะเป็นเกร็ดความรู้กฎหมายเล็ก ๆ ที่อาจจะมีประโยชน์สำหรับทุกคน หากต้องการปรึกษาเรื่องเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย และเกร็ดความรู้เรื่องกฏหมายสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.sbpolice.go.th/news/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B13%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86%E0%B8%9E.%E0%B8%A3.%E0%B8%9A.%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C60_189.html

http://www.stopcorruption.moph.go.th/application/editors/userfiles/files/PPT%20%E0%B8%9E_%E0%B8%A3_%E0%B8%9A_%20%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C.pdf

https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Electronic-Transactions-Act-the-Series_Ep1.aspx

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *