กฎหมายชวนรู้! จ้างเด็กทำงาน แบบนายจ้างไม่เสี่ยงคุก

ปัจจุบันการทำงานพาร์ทไทม์เพื่อหารายได้เสริมของเด็กนักเรียนไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ในการจ้างแรงงานเด็กนั้นจะต้องมีขอบเขตตามที่กฏหมายกำหนด เนื่องจากร่างกายของเด็กยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ ทางธรรมชาติ และสิ่งที่ควรโฟกัสมากกว่าการทำงานเพื่อหาเงิน ซึ่งนายจ้างจำเป็นต้องเคารพและปฎบัติตามข้อกำหนดในการจ้างแรงงานเด็กอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้เกิดความผิด

 

ข้อกฎหมายแรงงานเด็กตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

 

  1. ห้ามนายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง
  2. กรณีที่มีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องแจ้งต่อพนักงาน ตรวจแรงงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน และแจ้งการสิ้นสุดการจ้างเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน นายจ้างต้องจัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมงต่อวันภายใน 4 ชั่วโมงแรกของ การทำงาน และให้มีเวลาพักย่อยได้ตามที่นายจ้างกำหนด
  3. ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 – 06.00 น. เว้นแต่ได้รับอนุญาต
  4. ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลา
  5. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานต่อไปนี้
  • งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
  • งานปั๊มโลหะ
  • งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสง ที่มีระดับแตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานี บริการที่เป็นเชื้อเพลิงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
  • งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ, ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา
  • งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่กำลังทำงาน
  • งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
  • งานอื่นตามที่กำหนดในกระทรวง
  1. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในสถานที่ต่อไปนี้
  • โรงฆ่าสัตว์
  • สถานที่เล่นการพนัน
  • สถานที่เต้นรำ รำวง หรือ รองเง็ง
  • สถาน ที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่ม อย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกจ้าง หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
  • สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  1. ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กแก่บุคคลอื่น

 

  1. ห้ามนายจ้างเรียก/หรือรับ เงินประกันจากฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก
  2. ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึก หรือลาเพื่อการอื่น ซึ่งจัดโดยสถานศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเด็กเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี

 

หากนายจ้างมีการฝ่าฝืนข้อกฎหมายที่กำหนด 

  • อาจมีความโทษปรับตั้งแต่ 400,000 – 800,00 บาทต่อลูกจ้างหนึ่งคน หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
  • กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานอันตราย จนเป็นเหตุให้ลูกจ้างเด็กได้รับอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ หรือถึงแก่ความตาย นายจ้างจะได้รับโทษ ปรับตั้งแต่ 800,000 –  2,000,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

 

การจ้างแรงงานเด็กเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้เด็ก ๆ นักเรียนมีรายได้เสริมเพื่อต่อยอดทางการศึกษา และเพื่อเป็นประสบการณ์ที่ดีให้กับเด็กอีกด้วย หากนายจ้างปฎิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายการจ้างแรงงานเด็กก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย หรือต้องการคำแนะนำในการจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1723%26filename=index 

https://legal.labour.go.th/attachments/article/179/47648_47.pdf

https://ratchakitcha.soc.go.th/

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *