การสร้างสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัยจะมีการจำแนกชนิดของสิ่งปลูกสร้างตามขนาดพื้นที่แล้ว อาคารขนาดใหญ่พิเศษสำหรับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ก็มีข้อกำหนดเช่นเดียวกัน โดยการก่อสร้างของอาคารเป็นไปตามที่กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อความเรียบร้อยและปลอดภัยของอาคาร
อาคารขนาดใหญ่
อาคารที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เกิน 2,000 ตารางเมตร หรือมีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปและมีขนาดพื้นที่เกิน 1,000 – 2,000 ตารางเมตร โดยกำหนดให้มีช่องทางเดินกว้าง 1 เมตรขึ้นไปสำหรับการพักอาศัย และกว้างกว่า 1.5 เมตรสำหรับการพาณิชยกรรมหรือกิจกรรมอื่น ๆ สำหรับความสูงจากพื้นถึงเพดานให้กำหนดดังนี้
- ห้องพักส่วนบุคคล ห้องพักโรงแรม หอพัก หรือการพักอาศัยอื่น ๆ ต้องมีความสูงตั้งแต่ 2.6 เมตรขึ้นไป
- ห้อเงรียน ห้องสำนักงาน ห้องโถง ห้องอาหาร หรือโรงงาน ต้องมีความสูงตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป
- ห้องประชุม ห้องพักฟื้นคนไข้ ห้องขายสินค้า คลังสินค้า โรงครัว ตลาด หรืออื่น ๆ ต้องมีความสูงตั้งแต่ 3.5 เมตรขึ้นไป
- ห้องแถวหรือตึกแถวชั้นล่าง ต้องมีความสูงตั้งแต่ 3.5 เมตรขึ้นไป และชั้นอื่น ๆ ต้องมีความสูง 3 เมตร
อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
มีการปรับปรุงแก้ไขจโดยไม่แบ่งประเภทอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ โดยรวมเป็น “อาคารขนาดใหญ่พิเศษ” แทน อาคารที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เกิน 10,000 ตารางเมตร หรือมีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป โดยวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า
ข้อกำหนดกฏหมายอาคารที่ต้องทำตาม
- อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไปหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีการติดตั้งบันไดหนีไฟที่ไม่ใช่บันไดแนวดิ่งเพิ่มจากบันไดหลัก
- อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ให้มีผนังและประตูที่ทำด้วยวัสดุไม่ติดไฟที่สามารถปิดกั้นไม่ให้เปลวไฟหรือควัน ฃไม่ให้เข้ามาที่บันไดหนีไฟ
- อาคารสูงหรืออาคารชนิดใหญ่พิเศษเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอัคคีภัย เช่น ห้องเก็บสิ่งของหรือวัสดุจำนวนมาก ฯลฯ ให้มีการกั้นแยกของอาคาร โดยมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หรือติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
- ให้มีการอุดหรือปิดล้อมช่องท่อและช่องว่างระหว่างท่อที่ผ่านพื้นหรือผนังโดยมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
- ต้องระบุตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ประตู หรือทางหนีไฟของชั้นนั้นอย่างชัดเจน
- ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงยกหิ้วตามมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับดับเพลิงของวัสดุที่มีในแต่ละชั้น
- อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารขนาดใหญ่ และอาคารชุมนุมต้องติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทุกชั้น โดยระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้เป็นไปตามกำหนดของกฎกระทรวง
- ต้องติดตั้งระบบไฟส่องสว่างสำรองเพื่อให้มีแสงสว่างสามารถมองเห็นช่องทางเดินได้ขณะเพลิงไหม้ พร้อมทั้งมีป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟทั้งด้านใน – ด้านนอกประตูหนีไฟที่มองเห็นได้ชัดเจนตลอดเวลา
- อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า
กฏหมายอาคารมักมีการปรับปรุงแก้ไขตามยุคสมัยและดีไซน์ของการก่อสร้าง เพื่อความแข็งแรงของอาคารและความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร เป็นเกร็ดความรู้กฎหมายเล็ก ๆ ที่อาจจะมีประโยชน์ในอนาคต หากต้องการปรึกษาเรื่องเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย และเกร็ดความรู้เรื่องกฏหมายสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm