ประเทศไทยตอนนี้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัวเมื่อเทียบจากตัวเลขในการใช้มือถือและการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของคนไทยทั้งหมด นอกนั้นยังมีการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มหรือแอปฯออนไลน์ต่าง ๆ อย่างคุ้นชิน ทำให้ประเทศไทยเป็นเมืองดิจิทัลอย่างเต็มตัว แม้ดิจิทัลจะช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบายแต่บางครั้งก็แฝงมากับปัญหาต่าง ๆ เช่น การเข้าถึงความเป็นส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต การฉ้อโกง โอนเงินเเล้วไม่ส่งของ และอื่น ๆ อีกมากมาย จึงทำให้ต้องมีกฎหมายบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อควบคุมและคุมครองผู้ที่ใช้งานอย่างครอบคลุมโดยเฉพาะผู้ประกอบการและคนทำธุรกิจ
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้มีการแบ่งเป็นรายข้อกฎหมายบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็น 6 ข้อเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ดังนี้
1. สื่อกลางดิจิทัลต้องโปร่งใสและเป็นธรรม
แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นสื่อกลางที่มีข้อมูลของทุกคนที่ใช้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป้นการลงข้อมูลเพื่อขายสินค้า หรือผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าต่าง ๆ ทำให้ต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้ข้อมูลเหล่านั้นอย่างถูกต้องและโปร่งใส เพื่อไม่ให้มีการนำข้อมูลส่วนตัวหรือทรัพย์สินของผู้ที่ใช้บริการไปใช้ในทางมิชอบ
2. แพลตฟอร์มดิจิทัลที่อยู่ภายใต้กฎหมายฯ
- บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายจากการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในราชอาณาจักรเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคลธรรมดา
- บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายจากการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในราชอาณาจักรเกิน 50 ล้านบาทต่อปี ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคคล และ
- บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีจำนวนผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในราชอาณาจักรเกิน 5,000 รายต่อเดือน โดยคำนวณจากการใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนย้อนหลังตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกาศกำหนด
โดยบริการแพลตฟอร์มเหล่านี้มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อมูลที่จำเป็นให้ ETDA ทราบข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล
3. กฎหมายบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลไม่เป็นภาระกับผู้ประกอบการรายย่อย
ผู้ประกอบการรายย่อยหรือบุคคลธรรมดารายได้ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาท หรือมีผู้ใช้บริการต่ำกว่า 5,000 คนต่อเดือน ไม่เข้าค่ายแพลตฟอร์มดิจิทัลตามที่กฎหมายกำหนดจึงไม่ต้องแจ้งตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลและการควบคุมดูแลตามหมวด 2
แต่ผู้ประกอบธุรกิจฯ รายย่อยจะต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลให้กับ ETDA ได้แก่ ชื่อบริการแพลตฟอร์ม ประเภทบริการแพลตฟอร์ม และช่องทางการให้บริการ และรายชื่อผู้ประสานงานในประเทศไทยหากผู้ประกอบธุรกิจเป็นชาวต่างชาติหรืออยู่ต่างประเทศ
4. กำหนดขนาดให้ธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล
ลักษณะบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่และบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะ แบ่งเป็น 3 ประเภท
- บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่ ซึ่งมีรายได้จากการให้บริการในไทย แต่ละประเภทบริการเกิน 300 ล้านบาทต่อปี หรือรวมทุกประเภทบริการเกิน 1,000 ล้านบาทต่อปี หรือมียอดคนใช้งานแพลตฟอร์มต่อเดือนเกินร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรไทย
- บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตามความเสี่ยง ซึ่งมีความเสี่ยงและมีผลกระทบในระดับสูง
- บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะในด้านสำคัญ
โดยทั้ง 3 ประเภทจะต้องทำการประเมินความเสี่ยง และมีมาตรการการบริหารจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสมบนแพลตฟอร์ม
5. กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบจากการเลิกประกอบธุรกิจบริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล
หากผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลต้องการยกเลิกกิจการต้องแจ้งให้ ฎธฏฤ ทราบล่วงหน้า ดังนี้
- บริการแพลตฟอร์มที่มีลักษณะทั่วไป แจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน
- บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นสื่อกลางในการเสนอสินค้าหรือบริการ (Marketplace) หรือเป็น Search engine หรือเป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่หรือแพลตฟอร์มที่มีลักษณะเฉพาะ แจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 120 วัน
รวมทั้งต้องประกาศให้ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลทราบถึงการแจ้งเลิกการประกอบธุรกิจทันที เมื่อแจ้งกับ ETDA แล้ว
6. “คณะกรรมการร่วม” และ “การอุทธรณ์” กลไกลเพิ่มเติม
นอกจากข้อกฎหมายฯแล้วทาง ETDA ยังมีกลไกลเพิ่มเติมเพื่อช่วยผู้ประกอบการธุรกิจเพิ่มเติม
- คณะกรรมการร่วม – ทีมประสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ในการให้ความเห็น คำแนะนำ เสนอแนะแนวทาง พิจารณาและวินิจฉัยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ความโปร่งใสและเป็นธรรม หรือมาตรฐานที่ไม่ต่ำกว่ากฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้
- การอุทรณ์ – เป็นการกำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์ให้ชัดเจนขึ้น หากมีหน้าที่มีคำสั่งไปยังผู้ประกอรการให้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าผู้ประกอบธุรกิจฯพบว่าคำสั่งดังกล่าวไม่เหมาะสมสามารถยื่นคำอุทธรณ์ได้ โดยการอุทธรณ์คำสั่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี
- ถ้าเป็นคำสั่งทางปกครองของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการ ETDA
- ถ้าเป็นคำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการร่วม สำนักงาน หรือผู้อำนวยการ ETDA ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ 30 นับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง หรือวันที่รู้หรือควรรู้ถึงคำสั่ง
แม้จะก้าวสู่ยุคดิจิทัลแล้วแต่ข้อกฎหมายยังคงมีความสำคัญในการดูแลรักษาความเรียบร้อย และคุมครองประชาชนทุกคน เพื่อความเป็นระเบียบและปลอดภัยทุก ๆ ฝ่ายทั้งในส่วนของผู้บริโภคและผู้ประกอบการธุรกิจฯ
หากต้องการความรู้หรือปรึกษาเรื่องกฎหมาย Balance Niti Law Firm พร้อมให้คำปรึกษาและดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอน สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm