ข้อมูลที่ต้องรู้ในสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

อยากมีบ้านสำหรับอยู่อาศัยหรือซื้อที่ดินสำหรับลงทุน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “หนังสือสัญญาซื้อขาย” เพราะเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง จึงไม่สามารถแค่เพียงจ่ายเงินและโอนกรรมสิทธิ์ได้ทันที ต้องมีการทำเอกสารสัญญาซื้อขายเพื่อผู้ซื้อและผู้ขายนั้นตกลงยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งสองฝ่ายอย่างชัดเจน

 

สัญญาซื้อขายคืออะไร

เอกสารสัญญาในการตกลงซื้อขายบ้านซึ่งมีผลทางกฎหมายทั้งผู้จะซื้ออสังหาริมทรัพย์และผู้จะขายอสังหาริมทรัพย์ จุดประสงค์เพื่อให้กรรมสิทธิ์บ้านหรือที่ดินนั้นกลายเป็นของผู้ซื้ออย่างสมบูรณ์ โดยสัญญาซื้อขายบ้านจะต้องได้รับการจดทะเบียนโดยเจ้าพนักงานของสำนักงานที่ดินในท้องที่เท่านั้น และมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า หนังสือสัญญาขายที่ดิน (ท.ด. 13)

 

5 ส่วนประกอบของสัญญาซื้อขาย

1. รายละเอียดการจัดทำสัญญา

อยู่ในส่วนบนหรือหัวของสัญญาเพื่อบันทึกข้อมูล วัน เวลา และสถานที่ที่มีการทำสัญญาฉบับนี้ขึ้น ร เพื่อเป็นการกำหนดเวลาเริ่มต้นที่ให้สัญญามีผลบังคับใช้ ซึ่งสัญญาจะมีผลนับตั้งแต่วันที่ระบุในส่วนนี้

2. รายละเอียดของคู่สัญญา

ในสัญญาจะต้องระบุข้อมูลที่แสดงตัวตนของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ตั้งแต่ชื่อ-นามสกุล อายุ และที่อยู่โดยใช้รายละเอียดตามบนบัตรประชาชน รวมทั้งต้องมีสำเนาบัตรประชาชนเป็นเอกสารแนบท้ายเพื่อประกอบหนังสัญญาซื้อขายด้วย

3. รายละเอียดอสังหาริมทรัพย์

แสดงรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ต้องการซื้อขาย หากเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ จะแสดงเลขที่โฉนดที่ดิน (น.ส. 4 จ.) บ้านเลขที่ ที่ตั้งของที่ดิน ขนาดเนื้อที่ และจำนวนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน

4. ราคาขายและรายละเอียดการชำระเงิน

ระบุว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในราคาเท่าไร โดยมีการระบุจำนวนเงินเป็นตัวเลขและตัวอักษร พร้อมการแจกแจงอย่างชัดเจนว่ามีส่วนที่แบ่งออกมาเพื่อวางมัดจำกี่บาท รวมทั้งการชำระด้วยเงินสดหรือเช็กธนาคาร หากเป็นเช็กธนาคารต้องระบุธนาคาร สาขา เลขที่เช็ค วันที่ และจำนวนเงินที่สั่งจ่าย 

5. รายละเอียดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์

วันที่ทำสัญญาซื้อขายและวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อาจจะเป้นวันเดียวกัน หรือหลังวันทำสัญญาซื้อขายก็ได้ แต่ต้องมีการกำหนดวันที่สามารถรู้ได้แน่ชัด

 

ค่าธรรมเนียมนิติกรรมในการทำสัญญาซื้อขายฯ

ในการดำเนินการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมในส่วนต่าง ๆ จึงต้องศึกษาเพื่อเป็นข้อมูล นำไปพิจารณาและคำนวณค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

  • ค่าธรรมเนียม

กฎหมายอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมกำหนดว่าทุกครั้งที่มีการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์จะต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 2% จากราคาประเมิน ซึ่งขึ้นอยู่กับการเจรจาในการซื้อขายว่าผู้ซื้อหรือผู้ขายจะเป็นผู้ชำระ

  • ค่าอากร

ค่าอากรแสตมป์ผู้ขายจำเป็นต้องชำระแต่เพียงผู้เดียวในอัตรา 0.5% จากราคาประเมินหรือราคาตลาด 

  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ผู้ขายที่ครอบครองอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลาน้อยกว่า 5 ปีหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนานกว่า 1 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ในอัตราร้อยละ 3.3% จากราคาประเมินหรือราคาตลาดขึ้นอยู่ว่าอย่างใดจะสูงกว่า ซึ่งจะได้รับการยกเว้นหากอสังหาริมทรัพย์นี้ได้มาโดยการรับมรดกตกทอด

  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

เมื่อผู้ขายมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้ผู้ขายเป็นคนรับผิดชอบทั้งหมด ซึ่งพิจารณาจากจำนวนปีที่ถือครอง เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมไปจนถึง 31 ธันวาคม หากมีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ภายในปีเดียวกัน นับเป็นการถือครอง 1 ปี

 

ก่อนทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องตรวจสอบรายละเอียดที่ระบุในหนังสือสัญญาอย่างถี่ถ้วน หากทำการเซ็นลงนามในสัญญาเเล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใด ๆ ได้อีก ดังนั้นก่อนทำนิติกรรมด้านกฎหมายใด ๆ ต้องพิจารณาเอกสารสัญญาอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของตัวเองในการทำสัญญาฉบับบนี้ หากมีข้อสงสัยหรือหรือการดำเนินการเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://balanceniti.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84/

https://ms.udru.ac.th/FNresearch/assets/pdf/ch04.pdf

http://www.blog.rmutt.ac.th/?tag=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *