การสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเองเป็นบ้านที่ตอบโจทย์การใช้งานเจ้าของบ้านได้ดีที่สุด เพราะการซื้อบ้านในหมู่บ้านจัดสรรเองก็มีข้อดีมากมาย แต่บางฟังก์ชั่นอาจจะไม่ตอบโจทย์ความต้องการของว่าที่เจ้าของบ้าน แต่ก่อนลงมือสร้างบ้านนั้นต้องศึกษาข้อกฎหมายการสร้างสิ่งปลูกสร้างและอาคารก่อนลงมือสร้างบ้าน
กฏหมาย 8 ข้อที่เจ้าของบ้านหลังใหม่ต้องรู้!
- สร้างบ้านได้ 70% ของที่ดิน
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 การสร้างบ้านในพื้นที่ที่ดินของตนเอง ตามข้อกฎหมายอนุญาตให้สร้างพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยได้เพียง 70% ของเนื้อที่เท่านั้น และอีก 30% ต้องเป็นที่ว่าง ซึ่งไม่บังคับว่าพื้นที่ว่างรอบตัวบ้านนนั้นจะต้องแบ่งในสัดส่วนที่เท่ากัน เพราะขึ้นอยู่กับระยะร่นของสิ่งปลูกสร้างของตัวบ้านแต่ละประเภท
- สร้างบ้านชิด ปิดรั้วทึบ
กรณีที่มีการต่อเติมบ้านชิดกับรั้วของเพื่อนบ้านนั้นสามารถทำได้ แต่ต้องได้รับการยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนก่อสร้างหรือต่อเติมบ้าน รวมทั้งต้องตรวจสอบรางน้ำฝนหรือหลังคาเพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาทเรื่องฝนกระเด็น น้ำหยด หรืออื่น ๆ ที่อาจจะสร้างความเดือดร้อนให้กับบ้านข้าง ๆ
- ผนังบ้านที่มีประตูหน้าต่าง ต้องมีระยะห่างจากแนวรั้ว อย่างน้อย 2 เมตร
ตัวบ้านชั้น 1 และชั้น 2 จะต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร หากเป็นบ้าน 3 ชั้น ต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 3 เมตร
- ห้ามสร้างบ้านล้ำพื้นที่สาธารณะ
ตามข้อกฎหมายระยะร่นได้กำหนดเอาไว้ว่า ตัวบ้านต้องมีระยะห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร โดยวัดจากกึ่งกลางถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร เนื่องจากในบางพื้นที่ที่มีการอยู่อาศัยหนาแน่น มักเกิดข้อพิพาทเรื่องการบุกรุกพื้นที่สาธารณะโดยไม่ตั้งใจ จึงได้มีกฎหมายระยะร่นกำหนดไว้อย่างชัดเจน
- ที่ดินชิดถนนหักมุมจะต้องปาดแนวรั้วด้านละ 4 เมตร
หากจะสร้างบ้านมีที่ดินอยู่ติดมุมถนนที่ถนนมีความกว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป โดยมีมุมหักถนน 2 ด้านน้อยกว่า 135 องศา จะต้องปาดมุมรั้วด้านละ 4 เมตร เพื่อไม่ให้กำแพงหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของบ้านบดบังทัศนะวิสัยการมองเห็นของผู้ใช้ถนน
- เพดานห้องน้ำต้องสูงกว่า 2 เมตร
ห้องน้ำเป็นอีกหนึ่งห้องที่สำคัญอย่างมากสำหรับบ้าน และเป็นห้องที่ต้องใช้งานทุก ๆ วัน กฎหมายจึงกำหนดให้เพดานห้องน้ำสูงไม่ต่ำกว่า 2 เมตร เพื่อให้ไม่รู้สึกอึดอัดและสะดวกต่อการระบายอากาศหลังใช้งาน
- บันไดของบ้านต้องกว้างมากกว่า 80 เซนติเมตร
บันไดเพราะเป็นจุดเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงมีข้อกฎหมายบังคับไว้บันไดต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และในแต่ละช่วงต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร หากมากกว่านี้จะต้องมีชานพักบันได ซึ่งชานพักบันไดต้องมีระยะห่างแนวดิ่งหรือความสูงจากบันไดอีกชั้นไม่น้อยกว่า 1.9 เมตร ซึ่งการมีชานพักจะช่วยลดความอันตรายในการเกิดอุยัติเหตุ
- ติดเหล็กดัด ต้องมีช่องเปิด
หากต้องการติดเหล็กดัดตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป จะต้องเว้นช่องว่างไม่น้อยกว่า 60 x 80 เซนติเมตร เพื่อเป็นการเปิดทางเข้าออกในกรณีที่ต้องกู้ภัยอันเนื่องจากอัคคีภัย
ขั้นตอนการขออนุญาตสร้างบ้านนั้นมีเอกสารค่อนข้างซับซ้อนซึ่งต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนในการจัดเตรียมและตรวจสอบ รวมทั้งอาจจะมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ บางอย่างที่ควรเตรียมไปเผื่อเพื่อจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาด ไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไข
หากเจ้าของบ้านไม่อยากต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสารแบะดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย สำนักงานกฎหมายและทนายความ Balance Niti Law Firm พร้อมให้คำปรึกษาและดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอน สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm