กฎหมายน่ารู้ ก่อนลงมือต่อเติมบ้าน

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยรู้สึกว่าอยู่บ้านมานานพื้นที่ในบ้านเริ่มไม่เพียงพอ … อยากต่อเติมบ้านเพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งานจัง แต่ก่อนจะติดต่อสถาปนิกหรือลงมือต่อเติมบ้านควรศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมอาคารและสิ่งปลูกสร้างสักนิด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคตและเพื่อความปลอดภัยของสมาชิกในบ้าน 

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมบ้าน คือ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้การก่อสร้างหรือการต่อเติมต้องมีระยะห่างระหว่างอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและป้องกันการรบกวนบุคคลในพื้นที่ข้างเคียง

  • มาตรา 21 ที่ระบุไว้ว่า การจะดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ต้องแจ้ง และต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่นก่อนเสมอ 
  • มาตรา 39 ทวิ ที่กำหนดให้ต้องยื่นแบบแปลน ชื่อสถาปนิก และวิศวกรที่ควบคุมงานให้เจ้าพนักงานทราบ 

 

การต่อเติมบ้านที่ต้องขออนุญาต

หากเป็นการต่อเติมเล็ก ๆ ภายในบ้านไม่ต้องขออนุญาตเนื่องจากไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างบ้าน แต่การต่อเติมดังต่อไปนี้จะต้องดำเนินการขออนุญาตเช่นเดียวกับการสร้างบ้านใหม่

  • การต่อเติมบ้านที่มีพื้นที่ครอบคลุมเกิน 5 เมตร
  • การลด-เพิ่ม จำนวนเสา หรือคาน
  • การต่อเติมที่มีความเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ขนาด ที่แตกต่างไปจากของเดิม
  • การต่อเติมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักบ้านที่เพิ่มมากขึ้นจากการคำนวนฐานรับน้ำหนัก

 

การต่อเติมบ้านที่ไม่ต้องขออนุญาต

  • การเปลี่ยนโครงสร้างของบ้านโดยใช้วัสดุที่มีขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม
  • การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของบ้าน ที่ไม่ถือเป็นโครงสร้างและเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างไม่เกิน 10% เช่น ผนัง พื้น
  • การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอาคาร โดยมีขนาดและรูปทรงที่เพิ่มน้ำหนักไม่เกิน 10% เช่น ประตู หน้าต่าง ฝ้าเพดาน
  • การเพิ่มหรือลดพื้นที่รวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และต้องไม่ใช่การลดหรือเพิ่มเสา หรือคาน เช่น การเพิ่มพื้นเฉลียงชั้นล่าง
  • การเพิ่มหรือลดพื้นที่ส่วนของหลังคา โดยมีขนาดมากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และต้องไม่ใช้การลดหรือเพิ่มเสา คาน

 

ข้อกำหนดกฎหมายของระยะห่างระหว่างอาคาร

สำหรับการต่อเติมประเภทอาคารชั้นเดียว หรืออาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร เช่น ห้องครัว ห้องซักล้าง เป็นต้น และมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียง

  • เว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร สำหรับการต่อเติมด้านที่มีช่องลมผ่าน เช่น ประตู หน้าต่าง เป็นต้น
  • เว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 0.50  เมตร สำหรับการต่อเติมที่เป็นผนังทึบ ชายหลังคา หรือกันสาด
  • เว้นระยะร่นระหว่างตัวบ้านกับกลางถนนอย่างน้อย 3 เมตร

 

บทลงโทษสำหรับการฝ่าฝืนต่อเติมบ้าน

  • ดำเนินการต่อเติมโดยไม่ขออนุญาตในกรณีที่การต่อเติมบ้านที่อาจมีผลกับโครงสร้างบ้านตามที่กำหนดไว้ เจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
  • หากพบว่ามีการต่อเติมบ้านผิดกฎหมาย จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

 

ดังนั้นอย่าลงมือต่อเติมบ้านโดยพลการควรศึกษาข้อกฎหมายเพื่อความปลอดภัย และป้องกันการละเมิดสิทธิเพื่อนบ้านโดยไม่รู้ตัว หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย หรือต้องการคำแนะนำในการจัดตั้งบริษัทและธุรกิจต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

เครดิต: https://www.dotproperty.co.th/blog/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *