อาคารพาณิชย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์สำหรับการลงทุนที่สามารถสร้างมูลค่าในระยะยาวได้ แต่ก่อนสร้างอาคารพาณิชย์ควรศึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่กำหนด และขั้นตอนการยื่นเอกสารเพื่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารฯ จากหน่วยงานต่าง ๆ ความปลอดภัยในการดำเนินการก่อสร้างและชุมชน
“อาคารพาณิชย์” หมายความว่า และให้หมายรวมถึงอาคารอื่นใดที่ก่อสร้างห่างจากถนนหรือทางสาธารณะไม่เกิน 20 เมตร ซึ่งอาจใช้เป็นอาคารเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชยกรรมได้
ข้อบัญญัติเรื่องการควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ดังนี้
- บันไดอาคารพาณิชย์ ต้องทำขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 4 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 19 เซนติเมตร และลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 24 เซนติเมตร
- ความสูงของห้องขายสินค้าจากพื้นถึงเพดานไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร หากมีระบบปรับอากาศสูงไม่น้อยกว่า 3 เมตร
- ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ ที่ได้ร่นแนวห่างจากเขตทางสาธารณะไม่เกิน 2 เมตร ท้องกันสาดของพื้นที่ชั้นแรกต้องสูงจากระดับทางเท้าที่กำหนด 3.25 เมตร ระเบีนงด้านหน้าอาคารมีได้ตั้งแต่ระดับพื้นชั้นที่สามขึ้นไป และยื่นได้ไม่เกินส่วนยื่นสถาปัตยกรรม
- ห้ามมิให้ปลูกสร้างอาคารสูงกว่าระดับพื้นดินเกินสองเท่า ของระยะจากผนังด้านหน้าของอาคารจดแนวถนนฟากตรงข้าม
- ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร แต่ถ้ามีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากแนวถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างแนวถนน สำหรับริมทางสาธารณะที่กว้างกว่า 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากแนวถนนอย่างน้อย 2 เมตร
- สำหรับอาคารหลังเดียวกันซึ่งมีถนนสองสายขนาบอยู่ และถนนสองสายนั้นขนาดไม่เท่ากัน เมื่อส่วนกว้างของอาคารนั้นไม่เกิน 15 เมตร ให้ปลูกสร้างสูงได้สองเท่าของแนวถนนที่กว้างกว่าได้ทั้งหลัง
- สำหรับอาคารหลังเดียวกัน ซึ่งอยู่ที่มุมถนนสองสายขนาดไม่เท่ากัน ให้ปลูกสร้างได้สูงสองเท่าของแนวถนนที่กว้างกว่า ลึกไปตามถนนที่แคบกว่าไม่เกิน 15 เมตร
- อาคารที่ปลูกสร้างชิดเขตที่ดินต่างผู้ครอบครอง อนุญาตให้เฉพาะฝาผนังทึบไม่มีประตูหน้าต่างและช่องระบายอากาศอยู่ชิดเขตได้พอดี
- อาคารพาณิชย์ ซึ่งไม่ได้ใช้เป็นที่พักอาศัยให้มีที่ว่างอยู่ 10 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ แต่ถ้าใช้เป็นที่พักด้วยให้มีที่ว่างอยู่ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่
- ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์ สูงไม่เกินสามชั้น และไม่อยู่ริมทางสาธารณะ ต้องมีที่ว่างด้านหน้าอาคารไม่น้อยกว่า 6 เมตร ถ้าสูงเกินสามชั้นต้องมีที่ว่างด้านหน้าอาคาร ไม่น้อยกว่า 12 เมตร ในกรณีที่อาคารหันหน้าเข้าหากันให้มีที่ว่างร่วมกันได้ ในกรณีที่หันหน้าตามกัน ให้ที่ว่างด้านหน้าของอาคารแถวหลังเป็นทางเดินหลังของอาคารแถวหน้าด้วย
- ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์ จะต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุม เป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร ในกรณีที่อาคารหันหลังเข้าหากันจะต้องเว้นทางเดินด้านหลังไม่น้อยกว่า 4 เมตร
- ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์ ต้องมีช่องหน้าต่างหรือประตูเปิดสู่ภายนอกได้ไม่น้อยกว่า 20 ใน 100 ส่วนของพื้นที่อาคารทุกชั้น ทั้งนี้ถ้าอาคารอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และใช้เพื่อการพาณิชย์ ต้องจัดให้มีพื้นที่จอดรถยนต์ในสัดส่วน 20 ตารางเมตรต่อ 1 คัน
- การติดตั้งระบบเตือนอัคคีภัยต้องแสดงในแบบเพื่อดำเนินการขออนุญาติ
เอกสารการขออนุญาตก่อสร้างที่ต้องเตรียม
- คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1)
- เอกสารแปลนบ้าน แบบบ้าน และรายละเอียดการก่อสร้าง ที่ได้มาตรฐานมีสถาปนิกและวิศวกรเป็นผู้เซ็นรับรองแบบ
- หนังสือรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน ผู้ควบคุมและเอกสารจากวิศวกรงานก่อสร้าง
- สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง หรือเอกสารสิทธิแสดงความเป็นเจ้าของที่ที่ดินผืนนั้น
- สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร
การสร้างอาคารพาณิชย์นั้นต้องมีความละเอียดรอบคอบทั้งขั้นตอนการก่อสร้างและเอกสารเพื่อขออนุญาตดำเนินการก่อสร้าง หากศึกษาข้อกฏหมายไม่ถี่ถ้วนก็อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ส่งผลให้เกิดความล่าช้ากว่ากำหนดได้ ต้องการที่ปรึกษาทนายในข้อกฎหมายอาคารเพื่อการดำเนินการยื่นขออนุญาตและการเตรียมเอกสารขออนุญาตการก่อสร้าง สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
http://www.khuanpang.go.th/datacenter/doc_download/a_061118_155419.pdf
https://download.asa.or.th/03media/04law/fubr/a1_bcmr55-63.pdf