กฎหมายชวนรู้ ! E-Document และผลทางกฎหมาย

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปการจัดทำหนังสือสัญญาหรือข้อตกลงสำคัญที่ต้องปริ้นออกมาเป็นรูปแบบเอกสารอาจจะไม่ตอบโจทย์กับยุคสมัยในปัจจุบันอีกต่อไป จุดประสงค์ของการจัดทำหนังสือเอกสารต่าง ๆ นั้นก็เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นหลักฐานหากมีเหตุฟ้องร้องกันในอนาคต แต่หากเพื่อความสะดวกสบายในปัจจุบันเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Document นั้นสามารถใช้แทนเอกสารหนังสือสำคัญได้หากมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนตามที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้บัญญัติไว้

 

“เอกสาร” หมายถึง กระดาษหรือวัตถุที่มีสภาพสมบูรณ์สามารถทำให้ปรากฏความหมายเป็นหลักฐานได้ ซึ่งนิยามนี้ยังไม่ครอบคลุมรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งชุดข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ล้วนแล้วแต่ไม่มีรูปร่าง จับต้องไม่ได้ และอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด

 

องค์ประกอบ 3 ประการของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่กฎหมายยอมรับ

เมื่อนิยามของเอกสารยังไม่ครอยคลุม ดังนั้นกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จึงได้ถูกบัญญัติมาเพื่อใช้เสริมกฎหมายเดิมที่มีอยู่ การบันทึกข้อความหรือข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนหนังสือเอกสารนั้น กฎหมายจะยอมรับความสมบูรณ์ของข้อความอิเล็กทรอนิกส์และรับรองให้มีสถานะเป็นหนังสือที่มีผลทางกฎหมายหากเข้าองค์ประกอบครบถ้วนเท่านั้น

  1. ข้อความหรือข้อมูลที่บันทึกสามารถเข้าถึงได้ คือ เป็นข้อความที่สามารถอ่านได้ ตีความได้ หรือแปลความหมายให้เข้าใจได้ 
  2. ข้อความหรือข้อมูลที่บันทึกสามารถนำกลับมาใช้ได้ คือ สามารถเปิดดูภายหลังได้ หรือสามารถดึงข้อมูลให้ปรากฏในภายหลังได้ เช่น ในกรณีของอีเมล์ที่ถูกเก็บไว้ใน Mailbox และเจ้าของสามารถเปิดดูเมื่อใดก็ได้ เป็นต้น
  3. ข้อความหรือข้อมูลที่บันทึกมีความหมายไม่เปลี่ยนแปลง คือ คู่ความจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้ว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นี้ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงมาก่อน

 

การลงนามแบบอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อการรับ – ส่งข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์อาจจะไม่มีการลงนามแบบเอกสาร แต่การใช้ Username/Password นั้นถือเป็นการแสดงตัวตนในการเข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งเทียบเท่ากับเป็น E-signature โดยปริยาย 

กรณีตัวอย่าง: การขอยืมเงินผ่านแชต Line สามาถเป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ เพราะมีข้อความปรากฎชัดเจน และมีการลงนามโดยการเข้า Log-in เข้าแชตไลน์ด้วย Username/Password ของแอคเคาน์นั้น

 

ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นการแสดงหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ต้องขึ้นอยู่กับศาลพิจารณาความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีและกระบวนการที่ใช้จัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาแสดงเพื่อพิจารณาการตัดสินอีกด้วย

 

ในโลกอนาคตอาจจะต้องมีการเพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิตอลที่ชีวิตประจำวันมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และข้อมูลอิเล็กทรอนิดส์ต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น หวังว่ากฎหมายชวนรู้จะเป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ ที่เป้นประโยชน์กับทุกคน หากต้องการปรึกษาเรื่องเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย และเกร็ดความรู้เรื่องกฏหมายสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต:https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-HTML/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AA/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AA-%E0%B8%9E-%E0%B8%A8-2544.aspx

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *