การโฆษณาออนไลน์เป็นช่องทางสำหรับผู้ประกอบการในการโปรโมทสินค้าของตัวเองให้กับผู้บริโภค แต่การแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น อาจจะทำให้มีการโฆษณาเกินจริงเพื่อดึงดูดความสนใจและทำให้สินค้าดูน่าสนใจมากกว่าคู่แข่ง ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมายและการละเมิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสินค้าได้
Q: การ Overclaiming ทำไม่ผิดพรบ.คอมพิวเตอร์?
A: เพราะปัจจุบันช่องทางการโฆษณาเป็นการยิงแอดในช่องทางออนไลน์ รวมทั้งการใช้ Influncer ในการรีวิวสินค้าซึ่งถือเป็นการโฆษณาสินค้าอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมักมีการรีวิวเกินความเป็นจริงเพื่อกระตุ้นในสินค้าดูน่าสนใจ
เนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้คนดังหรือ Influencer เพื่อโปรโมทสินค้ากันอย่างแพร่หลาย การโฆษณาสินค้าหรือบริการโดยให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือเท็จ อาจทำให้ผู้บริโภคมีความสับสนหรือคาดเดาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้น สินค้าบางชนิดอาจก่อให้เกินผลเสียต่อผู้ซื้อได้ หากมีการสื่อสารวิธีใช้หรือสรรพคุณของสินค้าในทางที่ผิด
ตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การโฆษณาเกินจริงอาจมีความผิดตามกฎหมาย และผู้ที่รับผิดชอบอาจต้องจ่ายค่าเสียหายหรือต้องลงโทษตามกฎหมายตามความรุนแรงของความผิดนั้น ซึ่งผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการโฆษณาเกินจริงสามารถทำข้อเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้โฆษณาตามกฎหมาย
การโฆษณาเกินจริงมีบทลงโทษ…
- พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค ม.22 ประกอบ ม.47 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 ฐาน “นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์” มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- หากเป็นสินค้าจำพวกอาหารเสริม หรือเครื่องสำอาง มีความผิดตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
การโปรโมทสินค้าอย่างพอดีนั้นทำให้สินค้าดูน่าเชื่อถือมากกว่าดูน่าตื่นเต้น แต่ผู้ประกอบการไม่เสี่ยงติดคุกหรือเสียค่าปรับตามบทลงโทษของกฎหมาย หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย หรือต้องการคำแนะนำในการจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm