หากอยากสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเองทั้งเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อการลงทุน นอกจากต้องหาข้อมูลเรื่องของการออกแบบและการก่อสร้างแล้ว การสร้างบ้านก็ต้องคำนึงถึงการขออนุญาตและขั้นตอนการดำเนินการทางกฎหมายให้ถูกต้องอีกด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวบ้านและผู้อยู่อาศัยนั่นเอง หากเจ้าของบ้านต้องการดำเนินการขออนุญาตสร้างบ้านด้วยตนเองนั้นต้องจัดเตรียมเอกสารและมีขั้นตอนการขออนุญาตอย่างไรบ้าง?
การเตรียมตัวขออนุญาตสร้างบ้าน
1. เช็กชื่อโฉนดที่ดิน
แม้ว่าจะเป็นที่ดินของตระกูลที่ตกทอดมาหรือเป็นที่ดินที่ซื้อมาใหม่ ก่อนลงมือสร้างบ้านควรตรวจสอบชื่อและกรรมสิทธิ์บนที่ดินให้ชัดเจนเพื่อความแน่นอน โดยสามารถขอตรวจสอบได้ที่สำนักงานที่ดินในเขตพื้นที่นั้น ๆ โดยต้องเตรียมโฉนดที่ดินที่ต้องการตรวจสอบไปด้วย
2. เตรียมเอกสารสำหรับการขออนุญาตสร้างบ้านและชำระค่าธรรมเนียม
เมื่อได้แบบบ้านที่ตรงใจแล้ว อีกหนึ่งขั้นตอนที่แสนจะทำให้เจ้าของบ้านปวดหัวไปตาม ๆ กันก็คือขั้นตอนการเตรียมเอกสารเพื่อดำเนินการขออนุญาตสร้างบ้าน โดยเจ้าของบ้านจะต้องจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวกับการออกแบบและโครงสร้างบ้านที่ลงนามรับรองโดยวิศวกรหรือสถาปนิก และเอกสารอื่น ๆ ที่ต้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงนาม ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนในการจัดเตรียม
ถ้าหากมีเอกสารใดผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วนนั้นเจ้าของบ้านจะต้องทำดำเนินการแก้ไข และดำเนินการส่งเอกสารขออนุญาตใหม่ทั้งหมดอีกครั้งตามลำดับคิว อาจจะทำให้การก่อสร้างบ้านล่าช้าและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยปกติการขออนุญาตฯใช้ระยะเวลาในการดำเนินประมาณ 45 วันทำการ นับตั้งแต่การยื่นแบบซึ่งไม่รวมกับการแก้ไขเอกสารที่ผิดพลาด
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการขออนุญาตสร้างบ้าน
1. สำเนาโฉนดที่ดิน
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาต
3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต
4. คำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร (ข.1)
5. แบบก่อสร้างบ้านที่จัดเตรียมโดยสถาปนิกและวิศวกร
- แบบสถาปัตยกรรม เป็นแบบที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของบ้าน รวมถึงวัสดุต่างๆ ที่จะใช้
- แบบวิศวกรรมโครงสร้าง เป็นแบบแสดงโครงสร้างทั้งหมดของตัวบ้าน ทั้งคาน เสา และส่วนต่างๆ ที่เป็นงานโครงสร้าง
- แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล เป็นแบบที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับงานท่อต่างๆ ทั้งท่อน้ำดี ท่อน้ำเสีย และบ่อบำบัด
- แบบวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นแบบที่แสดงถึงงานระบบไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในบ้าน รวมถึงขนาดของไฟฟ้า และอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้าที่ใช้ด้วย
- แบบอื่นๆ เป็นแบบที่แสดงรายละเอียดอื่นๆ นอกเหนือจากแบบต่างๆ ข้างต้น เช่น แบบงานระบบ และแบบตกแต่งภายใน
6. รายงานการคำนวณทางวิศวกรรม
8. หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม (น.4)
9. หนังสือรับรองผู้ออกแบบจากสถาปนิก
10. ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมผู้ควบคุมงาน
11. ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
12. เอกสารรับรองจากวิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง
13. หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)
14. หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)
3. รับใบอนุญาตสร้างบ้าน
เมื่อคำขออนุญาตสร้างบ้านผ่านการอนุมัติ และเจ้าหน้าที่จะมอบเอกสารใบอนุญาตเพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ เจ้าของบ้านควรทำสำเนาใบอนุญาตไว้อย่างน้อย 1 ชุด หรือทำสำเนาให้แก่ผู้รับเหมาหรือทีมงารที่เกี่ยวข้องไว้ในช่วงที่ดำเนินการก่อสร้าง
เรื่องของขั้นตอนการขออนุญาตสร้างบ้านนั้นมีเอกสารค่อนข้างซับซ้อนซึ่งต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนในการจัดเตรียมและตรวจสอบ บางครั้งแม้ว่าตรวจสอบจนแน่ใจแล้วก็ก็อาจจะมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ บางอย่างที่ผิดพลาดจนต้องทำการแก้ไขใหม่ ซึ่งทำให้เสียเวลาและมีค่าใช้จ่ายในระหว่างทำการแก้ไขเพิ่มขึ้นไปอีก เพื่อจะไม่ได้ต้องเสียเวลาในการแก้ไขหากเอกสารไม่สมบูรณ์ หากเจ้าของบ้านไม่อยากต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสารแบะดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย สำนักงานกฎหมายและทนายความ Balance Niti Law Firm พร้อมให้คำปรึกษาและดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอน สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
เครดิต: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER11/DRAWER092/GENERAL/DATA0000/00000056.PDF
https://www.maungfai.go.th/uploads/20140422154639OqYbAxG/20220316145634_2_FnvDeQZ.pdf