กฎหมายชวนรู้! ก่อนทำการค้ำประกัน

 

การทำสัญญาในการดำเนินทางกฎหมายต่าง ๆ มักต้องการผู้ค้ำประกัน อาทิเช่น สัญญาการกู้ยืม สัญญาการทำงาน เป็นต้น เพื่อให้มีผู้ที่’รับผิดชอบ’ในกรณีที่ติดต่อเจ้าตัวผู้ที่ทำประกันไม่ได้ บางครั้งนั้นทำให้ผู้ค้ำประกันเสียผลประโยชน์ในการค้ำประกันในสัญญา ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่จะเอื้อประโยชน์และให้ความคุ้มครอง’ผู้ค้ำประกัน’มากยิ่งขึ้น

 

การค้ำประกัน คืออะไร?

คือ การประกันการชำระหนี้ด้วยบุคคลอันเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งบุคคลอื่นนอกเหนือจากเจ้าหนี้และลูกหนี้ยอมตกลงกับเจ้าหนี้ว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ตนจะยอมชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เป็นการเอาความน่าเชื่อถือหรือความมีฐานะทางการเงินของตนเองเข้าประกันจะชำระหนี้ให้ลูกหนี้ บุคคลนี้เรียกว่า “ผู้ค้ำประกัน”

 

กฎหมายค้ำประกันฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2558 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันมากยิ่งขึ้น โดยมีข้อสรุป ดังนี้

 

  • ให้ผู้ค้ำประกันได้รับประโยชน์จากการที่เจ้าหนี้ให้ประโยชน์หรือผ่อนปรนต่อลูกหนี้ เช่น การลดหนี้ การลดค่าดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น เป็นต้น
  • ในกรณีลูกหนี้เบี้ยวนัด เจ้าหนี้จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก่อน 60 วัน หากเจ้าหนี้ไม่ได้แจ้งผู้ค้ำประกันให้ทราบ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องชำระดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัดของลูกหนี้
  • ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นโมฆ
  • ผู้ค้ำประกันที่เป็นสถาบันการเงินหรือค้ำประกันเพื่อสินจ้าง สามารถทำข้อตกลงไว้ล่วงหน้ายินยอมให้มีการผ่อนเวลาได้
  • ให้ผู้จำนองมีสิทธิทำนองเดียวกับผู้ค้ำประกัน ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกินกว่าราคาทรัพย์สินที่จํานอง และมีสิทธิขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองโดยไม่ต้องฟ้องคดีได้

 

แม้ว่ากฎหมายการค้ำประกันจะให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันมากขึ้น แต่ก็ยังไม่หลุดพ้นจากข้อสัญญาต่าง ๆ อยู่ดี.. ดังนั้นก่อนลงนามค้ำประกันสัญญาใด ๆ จึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อน หากต้องการความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการค้ำประกันในสัญญา หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายอื่น ๆ ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.agocoop.com/uploads/document/94/2017083194553u03Dawn.pdf 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *